วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก

ความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก



"ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซีย-แปซิฟิค" หรือ "เอเปค" จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เพื่อตอบสนองการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวมากขึ้นในหมู่ประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิค โดยเริ่มต้นจากกลุ่มประเทศที่อยู่ริมมหาสมุทรแปซิฟิค ไม่กี่ประเทศรวมตัวกัน อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Dialogue Group) จนกลายเป็นเวทีหลัก ในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าเสรีอย่างจริงจังในที่สุด ทั้งนี้ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จุดมุ่งหมายหลักของเอเปค คือ เสริมสร้างพลังทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคให้ก้าวไปข้างหน้า และสร้างจิตสำนึก ที่จะรวมกันเป็นรูปกลุ่มความร่วมมือขึ้น โดยจะไม่จัดตั้งเป็นรูปแบบองค์กรถาวร เหมือนกลุ่มประเทศอาเซียน หรือสหภาพยุโรป สมาชิกเอเปคทั้งหมด ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รวมกันทั้งสิ้นกว่า US$19,293 พันล้านเหรียญสหรัฐ (US$ billion) หรือ 47.5% ของการค้าโลกในปี พ.ศ. 2544
สมาชิกเอเปค (APEC Member Economies) จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม



ผู้สังเกตการณ์ถาวร 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat), สภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาคพื้นแปซิฟิค (Pacific Economic Cooperation Council - PECC), และเวทีหารือแปซิฟิคใต้ (South Pacific Forum - SPF)


หมายเหตุ เอเปคมีระเบียบการเรียกชื่อสมาชิกเขตเศรษฐกิจ ต่างจากที่เรียกขานตามปกติ ทั้งในเอกสาร และในการประชุมอย่างเป็นทางการของเอเปค คือ จะใช้คำว่า "Economy - เขตเศรษฐกิจ" แทนคำว่า "Country - ประเทศ" ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายจีนเดียวแต่สองระบบเศรษฐกิจ ("One Country, Two Systems" principle) โดยกำหนดให้เรียกไต้หวันว่า "จีน ไทเป - Chinese Taipei" และตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา เมื่อฮ่องกงรวมเข้ากับประเทศจีนแล้ว กำหนดให้เรียกฮ่องกง ว่า "จีน ฮ่องกง - Hong Kong, China"
ข้อสังเกต ในการประชุมของเอเปคไม่ว่าในระดับใด จะไม่มีการประดับธงชาติของเขตเศรษฐกิจสมาชิกไว้ ณ สถานที่ประชุม ไม่ว่าจะเป็นบนโต๊ะประชุม ในห้องประชุม หรืออาคารที่จัดประชุม เช่นเดียวกับการประชุมระดับนานาชาติอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากเรียกขานสมาชิกว่า economy มิใช่ country จึงไม่ควรมีธงชาติมาแสดงความเป็นประเทศใดๆ สำหรับการจัดโต๊ะประชุม จะต้องเสมอกันทุกเขตเศรษฐกิจ โดยจัดเป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยม โดยเรียงตามลำดับชื่อเขตเศรษฐกิจ ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษไปโดยรอบ



การจัดโต๊ะประชุมเอเปค



จุดประสงค์ของเอเปค
เพื่อเสริมสร้างภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค ให้มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่เสมอภาคกัน ด้วยความร่วมมือทางด้านการค้าและเศรษฐกิจ (to build the Asia-Pacific community through achieving economic growth and equitable development through trade and economic cooperation)
การดำเนินงานของเอเปค
เอเปคดำเนินงานด้วยมติ ที่เป็นเอกฉันท์ (Consensus) ในหมู่สมาชิก กล่าวคือหากเขตเศรษฐกิจใด ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอใดแล้ว ให้ถือว่าข้อเสนอนั้นตกไป ดังนั้น ก่อนการประชุมสำคัญๆ จะมีการทาบทามให้เห็นชอบกันก่อนเสมอ
เอเปคได้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยตั้งอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานด้านโครงการ และงบประมาณกลางของเอเปค เจ้าหน้าที่บริหารของสำนักงานเลขาธิการเอเปค คือ Executive Director ดำรงตำแหน่งวาระละ 1 ปี โดยปกติ เขตเศรษฐกิจที่เป็นเจ้าภาพเอเปคในปีนั้น จะรับหน้าที่ Executive Director โดยมีเขตเศรษฐกิจที่จะเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีถัดไป ทำหน้าที่เป็น Deputy Executive Director (สถานะของ Executive Director จะเป็นระดับเอกอัครราชทูต - Ambassador)
APEC SECRETARIATWith effect from 2 December 2002, the address for the new APEC Secretariat building is as follows:APEC Secretariat35 Heng Mui Keng TerraceSingapore 119616Telephone: 65-6775-6012 Facsimile: 65-6775-6013 Email
info@mail.apecsec.org.sg
Tel (65) 276-1880, Fax (65) 275-1775 -->URL: http://www.apecsec.org.sg




เอเปคแยกการปฏิบัติงานออกเป็นระดับต่างๆ คือ
1. การประชุมผู้นำเอเปค (Informal Meetings of Economic Leaders) ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นตามความเหมาะสม ได้มีการประชุมระดับผู้นำเอเปคไปแล้ว คือ
1. สหรัฐอเมริกา เบลก ไอแลนด์ (Blake Island), ซีแอตเติล 20 พฤศจิกายน 2536
2. อินโดนีเซีย โบกอร์ 15 พฤศจิกายน 2537
3. ญี่ปุ่น โอซากา 19 พฤศจิกายน 2538
4. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Subic 25 พฤศจิกายน 2539
5. แคนาดา แวนคูเวอร์ 25 พฤศจิกายน 2540
6. มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ 18 พฤศจิกายน 2541
7. นิวซีแลนด์ Auckland 12 กันยายน 2542
8. บรูไน ดารุสซาลาม Bandar Seri Begawan 16 พฤศจิกายน 2543
9 จีน Shanghai 20 ตุลาคม 2544
10. เม็กซิโก Los Cabos 27 ตุลาคม 2545
11. ไทย กรุงเทพ 20-21 ตุลาคม 2546
12. ชิลี ซานติอาโก 20-21 พฤศจิกายน 2547
13. เกาหลี ปูซาน 18-19 พฤศจิกายน 2548
14. ฮานอย เวียดนาม 18-19 พฤศจิกายน 2549
15. ซิดนีย์ ออสเตรเลีย 8-9 กันยายน 2550

2. การประชุมระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (APEC Ministerial Meetings - AMM - and Senior Officials Meetings) ประเทศต่างๆ จะผลัดกันเป็นประธานเอเปค (APEC Chair) หมุนเวียนกันไปทุกปี โดยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีเศรษฐกิจขึ้นในประเทศของตน ทั้งนี้โดยมีข้อตกลงกันว่าทุกครั้งเว้นครั้ง จะต้องจัดในประเทศกลุ่มอาเซียน
กำหนดการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสตั้งแต่แรกตั้ง คือ
1 ออสเตรเลีย (แคนเบอร่า) 2532
2 สิงคโปร์ 2533
3 สาธารณรัฐเกาหลี (โซล) 2534
4 ประเทศไทย (กรุงเทพ) 2535
5 สหรัฐอเมริกา (ซีแอตเติล) 2536
6 อินโดนีเซีย (จาการ์ต้า) 2537
7 ญี่ปุ่น (โอซากา) 2538
8 ฟิลิปปินส์ (มะนิลา) 2539
9 แคนาดา (แวนคูเวอร์) 2540
10 มาเลเซีย (กัวลาลัมเปอร์)
11 นิวซีแลนด์ (ออคแลนด์) 2542
12 บรูไน ดารุสซาลาม (บันดาร์ เสรี เบกาวัน) 2543
13 สาธารณรัฐประชาชนจีน (เซี่ยงไฮ้) 2544
14 เม็กซิโก (เม็กซิโก ซิตี้) 2545
15 ประเทศไทย (กรุงเทพฯ) 2546
16 ชิลี (ซานติอาโก) 2547
17 เกาหลี (Busan) 2548
18 เวียดนาม (ฮานอย) 2549
19 ออสเตรเลีย (ดาร์วิน) 2550
20 เปรู 2551


นอกเหนือจากการประชุมรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศ ซึ่งจัดให้มีขึ้นตามปกติทุกปีแล้ว ยังมีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ (Ministerial Meetings) ที่จัดขึ้นตามวาระที่เหมาะสมอีกด้วย
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค แต่เดิมรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงาน ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จะทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีพลังงานของประเทศไทย การประชุมรัฐมนตรีพลังงานของเอเปค (EMM - APEC Energy Ministers Meetings) ได้จัดขึ้นดังนี้
EMM1
28-29 สิงหาคม 2539
นคร Sydney ประเทศออสเตรเลียรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์) ติดราชการได้มอบหมายให้ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) เป็นผู้แทน
EMM2
26-27 สิงหาคม 2540
นคร Edmonton มณฑลอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)
EMM3
9-10 ตุลาคม 2541
เมือง Ginowan Okinawa ประเทศญี่ปุ่นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค)
EMM4
12 พฤษภาคม 2543
นคร San Diego มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริการัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค)
EMM5
23 กรกฎาคม 2545
กรุง Mexico City ประเทศเม็กซิโกรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา)
EMM6
10 มิถุนายน 2547
กรุง Manila ประเทศฟิลิปปินส์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช)
EMM7
19 ตุลาคม 2548
เมือง Gyeongju, สาธารณรัฐเกาหลีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวิเศษ จูภิบาล)
EMM8
29 พฤษภาคม 2550
เมือง Darwin ประเทศออสเตรเลียรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์)
ตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2545 เมื่อมีการปรับปรุงระบบราชการ และจัดตั้งกระทรวงพลังงานขึ้นแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นรัฐมนตรีพลังงานของไทย ไปร่วมประชุม โดยมีปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานเอเปค ของไทย
3. คณะกรรมการถาวร (Committees) ปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ชุด คือ
คณะกรรมการการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) จัดตั้งขึ้นในปี 1994 (predecessor RTI from 1992) จากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวก ให้สินค้าและบริการ ไหลเวียนได้อย่างสะดวก ในหมู่สมาชิก คณะกรรมการชุดนี้นับว่า เป็นกลไกสำคัญที่สุดของเอเปค ในการดำเนินการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ ตามแผนปฏิบัติการโอซากา - ประกอบด้วยการดำเนินงานด้านต่างๆ ได้แก่ Sub-Committees/Experts Groups 11 ชุด คือ
Sub-Committee on Standards & Conformance
Sub-Committee on Customs Procedures
Market Access Group
Group on Services
Investment Experts Group
Intellectual Property Rights
Government Procurement
Mobility of Business People
Competition Policy/Deregulation
WTO Capacity Building
Strengtening Economic Legal Infrastructure - สำหรับสาขาพลังงาน เอเปคได้จัดไว้ภายใต้หัวข้อ "การค้าบริการ (Services)" ซึ่งจะต้องดำเนินการเปิดเสรี ไปพร้อมกันกับสาขาเศรษฐกิจอื่นๆ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านพลังงานของไทย (Thailand Energy Individual Action Plan) ตามแผนเปิดเสรีทางการค้า และบริการของเอเปค โดยที่ไทยอยู่ในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา ที่จะต้องเปิดเสรีสาขาพลังงาน อย่างเต็มที่ในปี 2020 คือขยายเวลา ให้ดำเนินการเปิดการค้าเสรี ให้สำเร็จหลังประเทศพัฒนาแล้วได้อีก 10 ปี
คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Committee - EC) จัดตั้งขึ้นในปี 1995 (predecessor ETI 1991) จากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค โดยปัจจุบัน เน้นการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ และการศึกษาประเด็นเศรษฐกิจเฉพาะเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวพันต่อเนื่องกัน- มีคณะอนุกรรมการย่อย (Sub-Group) 1 คณะ คือ EC Outlook Taskforce
คณะกรรมการ ECOTECH (SOM Committee on Economic and Technical Cooperation - ESC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1998 เพื่อช่วยเหลือ SOM ในการประสานงานด้าน ECOTECH- มีคณะอนุกรรมการย่อย (Sub-Group) 1 คณะ คือ Group on Economic Infrastructure, ยกเลิกเมื่อปี 2002
คณะกรรมการงบประมาณและการบริหารงาน (Budget and Management Committee - BMC) ก่อตั้ง 1994 (called BAC before 1999) มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในเรื่องงบประมาณ และการบริหารจัดการต่างๆ มีการประชุมตามปกติปีละ 2 ครั้ง
4. กลุ่มที่ปรึกษา (Advisory Group) - ปัจจุบันมีเพียง 1 กลุ่ม คือ
สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2538 ตามมติที่ประชุมผู้นำที่โอซากา ประกอบด้วยนักธุรกิจเขตเศรษฐกิจละ 3 คน เพื่อให้คำปรึกษาในการดำเนินงาน และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคธุรกิจต่างๆ
5. กลุ่มคณะทำงานเฉพาะกิจ (SOM Special Tasks Group) ปัจจุบันมี 3 ชุด คือ
Steering Group on E-Commerce, ก่อตั้ง 1999
Counter Terrorism Task Force
Gender Focal Point Network
6. คณะทำงาน (Working Groups)
คณะทำงานด้านต่างๆ ทั้ง 12 คณะนี้ นับเป็นกลไกการปฏิบัติงานตามปกติของเอเปค คือเป็นทั้งผู้รับนโยบายจากการประชุมระดับผู้นำ การประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ไปปฏิบัติให้เกิดผลงานอย่างจริงจัง พร้อมทั้งต้องเสนอแนะ และริเริ่มงานที่จะก่อประโยชน์ ตามลักษณะงานของแต่ละคณะทำงานนั้นๆ โดยแต่ละคณะทำงาน จะแยกการดำเนินงาน ผ่านทางกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups) ต่างๆ ที่ประกอบด้วยผู้แทน จากแต่ละเขตเศรษฐกิจ ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้นๆ โดยตรงมาร่วมเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
คณะทำงานด้านพลังงาน (Energy), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านการประมง (Fisheries), ก่อตั้ง 1991
คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Science and Technology), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำ (Marine Resources Conservation), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ (Telecommunications & Information), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านส่งเสริมการค้า (Trade Promotion), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านการคมนาคมขนส่ง (Transportation), ก่อตั้ง 1991
คณะทำงานด้านการท่องเที่ยว (Tourism), ก่อตั้ง 1991
คณะทำงานด้านความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร (Agricultural Technical Cooperation), ก่อตั้ง 2539
คณะทำงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small & Medium Enterprises), ก่อตั้ง 2538
คณะทำงานด้านข้อมูลการค้าและการลงทุน (Trade & Investment Data), ก่อตั้ง 1990/ ยกเลิก พ.ย.1998

ไม่มีความคิดเห็น: