กลุ่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก
1. ภูมิภาคตะวันออก (ในที่นี้ หมายถึง กลุ่มประเทศอาเซียน ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้) มีขนาดของเศรษฐกิจซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2020 อาจจะมีขนาดใหญ่ถึงประมาณ 40% ของโลก เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ก็มีอยู่ถึงครึ่งหนึ่งของโลก
ในเอเชียตะวันออกนั้น ประชากรรวมกันก็ประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ก่อนที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เอเชียถูกคาดหมายว่าจะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของโลก แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมา จึงทำให้เอเชียถูกลดบทบาทลงไป
ตอนนี้ จึงอยากจะมองดูว่าประวัติศาสตร์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกนั้น เป็นอย่างไร ในสมัยสงครามเย็นนั้น เอเชียก็แตกแยกออกเป็น 2 ค่าย จึงรวมกันไม่ได้ มาเริ่มกันจริง ๆ จัง ๆ ในช่วงปลายสงครามเย็น คือในปี 1989 มีข้อเสนอที่สำคัญ 2 ข้อเสนอด้วยกัน หนึ่งเป็นข้อเสนอของออสเตรเลียที่เราเรียกกันว่า APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ APEC กำลังถูกก่อตั้งขึ้นนั้น ประเทศมาเลเซียไม่เห็นด้วย และอยากให้เอเชียรวมกลุ่มกันเฉพาะในเอเชียเท่านั้น ดังนั้น มาเลเซียจึงเสนอ East Asia Economic Caucus (EAEC) อย่างไรก็ตาม อเมริกาได้คัดค้านอย่างเต็มที่ และในที่สุด EAEC ก็ไปไม่รอด ญี่ปุ่นไม่กล้าที่จะไปขวางอเมริกา EAEC ตกไป และ APEC ก็เกิดขึ้นมา
หลังจากนั้น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 จึงเป็นยุคทองของ APEC ซึ่งโดดเด่นมาโดยตลอด และตั้งแต่ปี 1993 อเมริกาก็ครอบงำ APEC และหลังจากที่มีการจัดการประชุมสุดยอดที่ Seattle ในปี 1993 ประเด็นการหารือใน APEC ก็เป็นประเด็นเรื่องการเปิดเสรีทางการค้าเป็นหลัก ซึ่งเป็นเรื่องที่อเมริกาให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในตอนนั้น อเมริกาผลักดันให้มีการจัดตั้งเป้าหมายที่จะให้ APEC เป็นเขตการค้าเสรีในปี 2010/2020
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมา ทุกอย่างก็หยุดชะงัก บทเรียนสำคัญของวิกฤติเศรษฐกิจคือ การที่เอเชียไม่มีกลไกที่จะช่วยเหลือประเทศเอเชียด้วยกันเอง
เราคงจำกันได้ดีว่าประเทศไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ต้องไปกู้เงินจาก IMF ต้องไปหาอเมริกา ความรู้สึกของเอเชียในตอนนั้นชัดเจนมากขึ้นว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกนั้น อยู่ในเรือลำเดียวกัน เมื่อประเทศไทยล้ม ก็ทำให้ประเทศอื่นล้มตามไปด้วย เพราะฉะนั้น จึงเกิดความรู้สึกว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องร่วมมือกัน
หลังจากนั้น ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้ประเทศในเอเชียหันมาร่วมมือกันมากขึ้น คือ การประชุม WTO ที่ Seattle ล้มเหลว ช่วงปลายปี 1990 APEC หลังปี 1997 ก็ประสบกับความล้มเหลวในการเจรจา ไม่มีอะไรคืบหน้าในเรื่องของการเปิดเสรีการค้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ ยุโรปก็เร่งกระบวนการการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค อเมริกาเองก็พยายามจะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือขึ้นมา รวมทั้งเขตการค้าเสรีทั้งอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
2. อาเซียนปัจจัยเหล่านี้ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การประชุมสุดยอดอาเซียนในปลายปี 1999 มีข้อเสนอที่จะให้มีความร่วมมือกันระหว่างอาเซียนกับอีก 3 ประเทศในเอเชีย นั่นคือจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีการประชุมสุดยอดครั้งแรกในกรอบของอาเซียน ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1999 และมีแถลงการณ์ร่วมที่เกี่ยวกับความร่วมมือเอเชียตะวันออก ในแถลงการณ์ดังกล่าวมีมาตรการที่จะร่วมมือกันในหลายด้านด้วยกันที่สำคัญคือ ความร่วมมือทางด้านการเงิน
ต่อมา ก็มีการประชุมรัฐมนตรีคลังในกรอบอาเซียน และมีข้อตกลง "Chiang Mai Initiative" เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นได้พยายามที่จะจัดตั้ง "Asian Monetary Fund" (กองทุนการเงินแห่งเอเชีย) ขึ้นมา เพื่อที่จะใช้แทน IMF ประเทศในเอเชียหวังว่า ถ้าเกิดวิกฤติรอบ 2 ขึ้นมา เราจะได้ไม่ต้องไปง้อ IMF ไม่ต้องโดน IMF สั่ง ถ้าเป็นเงินของกองทุนของเอเชียเงื่อนไขต่าง ๆ น่าจะดีกว่า อย่างไรก็ตาม อเมริกาก็คัดค้านอย่างเต็มที่เพราะกลัวว่า AMF จะมาแย่งบทบาทของ IMF ซึ่งสหรัฐครอบงำอยู่ ข้อเสนอของญี่ปุ่นจึงตกไป
นอกจากนั้น ก็มีข้อเสนอว่า ในอนาคตน่าจะมีความร่วมมือกันในด้านระบบอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ รวมไปถึงข้อเสนอเงินสกุลของเอเชีย มีการมองว่า เอเชียจะสามารถเป็นแบบสหภาพยุโรปได้หรือไม่ จะเป็นสหภาพทางการเงินแบบยุโรปได้หรือไม่ และยังมีข้อเสนอที่จะให้เอเชียตะวันออกเป็นเขตการค้าเสรี หรือเรียกว่า "East Asia Free Trade Area"
3. ข้อเสนอ "ชุมชนเอเชียตะวันออก"
ข้อเสนอเหล่านี้ก็มีการพูดถึงกันมากขึ้น แต่ปัญหาสำคัญคือว่า หลังจากนั้นปี 1999 เป็นต้นมา ไม่ได้มีข้อเสนอที่อยู่ในกรอบของอาเซียน เท่านั้น เกาหลีใต้พยายามผลักดันให้มีการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ขึ้นมาที่จะอยู่นอกกรอบอาเซียน และให้มีการรวมกลุ่มกันในลักษณะ "East Asian Community" หรือชุมชนเอเชียตะวันออก ซึ่งข้อเสนอนี้จะขยายออกไปนอกกรอบของอาเซียน +3 จะเป็น "เอเชียตะวันออก" ไปเลย
4. เขตการค้าเสรีจีน - อาเซียน
นอกจากนั้น ปีที่แล้ว จีนกับอาเซียนมีข้อตกลงที่จะจัดทำเขตการค้าเสรีภายในระยะเวลา 10 ปี ความตกลงนี้ถ้าเป็นจริงขึ้นมาได้ ก็จะมีประโยชน์เพราะว่าอาเซียนกับจีนจะมีประชากรรวมกันถึง 1.7 พันล้านคน GDP จะถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จะเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่มาก
แต่ปัญหาก็คือว่า การที่อาเซียนจะมารวมกับจีนเป็นเขตการค้าเสรีก็จะไม่ครบ ญี่ปุ่นจะอยู่ตรงไหน เกาหลีจะอยู่ตรงไหน จะเป็นแค่อาเซียนกับจีนเท่านั้นหรือ คล้ายๆ จะขาดเสี้ยวไป ในแง่ของความร่วมมือในกรอบใหญ่ที่จะเป็นอาเซียน
แนวโน้มขณะนี้แต่ละฝ่ายพยายามที่จะเสนอข้อเสนอของตัวเองแล้วกลายเป็นว่า จะตีกันไปใหญ่ ข้อเสนอมากเกินไป และทำให้วุ่นวายสับสนอยู่ในขณะนี้
5. ข้อเสนอของญี่ปุ่น
ขณะที่จีนกับอาเซียนกำลังจะมีเขตการค้าเสรี ญี่ปุ่นก็ตกอยู่ในสภาพเพลี่ยงพล้ำจีน จีนกับอาเซียนตกลงกันได้โดยไม่มีญี่ปุ่น ญี่ปุ่นโดยนายกรัฐมนตรีโคอิซูมิ ตอนมาเยือนเอเชียเมื่อเดือนที่แล้ว จึงต้องพยายามเรียกบทบาทของตัวเองกลับคืนมา บทบาทของการเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ โดยมีการจัดทำเขตการค้าเสรีกับสิงคโปร์ และมีข้อเสนอหลายข้อเสนอด้วยกัน
ข้อเสนอหนึ่ง คือ "Initiative for Japan - ASEAN Comprehensive Partnership" เป็นข้อเสนอที่ญี่ปุ่นจะร่วมมือกับอาเซียน ที่จะเป็นหุ้นส่วนทางด้านเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์แบบ โดยญี่ปุ่นบอกว่า ญี่ปุ่นจะใช้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างญี่ปุ่นและสิงคโปร์เป็นแม่แบบในการเจรจากับประเทศอื่น ๆ ต่อไป
นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังเสนออีกว่า จะให้มีเวทีที่เรียกว่า "Initiative for Development in East Asia" ขึ้นมาอีกเวทีหนึ่ง โดยบอกว่า เวทีนี้จะเป็นเวทีที่จะหารือในเรื่องของการพัฒนาการเศรษฐกิจ รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่สำคัญคือว่า ญี่ปุ่นได้ระบุว่า ประเทศที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในเวทีดังกล่าวควรจะมีสหรัฐ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมทั้งจีนกับเกาหลีใต้ด้วย ญี่ปุ่นมองว่า สมาชิกแกนหลักของชุมชนเอเชียตะวันออก จะต้องมีออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อยู่ด้วย
ผมเดาว่า ญี่ปุ่นคงมองว่า ถ้าจะปล่อยให้เป็นอาเซียน จีนจะครอบงำแน่ โดยลำพังแล้ว อาเซียนเองไม่สามารถที่จะไปคานอำนาจกับจีนได้ ญี่ปุ่นเองก็รู้สึกว่าลำบากขึ้นทุกวัน ผมมองว่า ยุทธศาสตร์ล่าสุดของญี่ปุ่น คือ การที่จะดึงเอาประเทศนอกภูมิภาคเข้ามาเพื่อที่จะถ่วงดุลอำนาจกับจีน ไม่ให้จีนครอบงำภูมิภาคนี้ โดยจะดึงเอาออสเตรเลียเข้ามา ดึงเอาสหรัฐ เข้ามา
โคอิซูมิพูดเลยไปถึงว่า ชุมชนเอเชียไม่ควรจำกัดอยู่เฉพาะประเทศในเอเชียเท่านั้น แต่ควรจะมีสหรัฐ ควรจะมองไปถึงเอเชียใต้ ซึ่งก็หมายถึงว่าควรจะมีอินเดียเข้ามาด้วย ควรจะรวมถึง APEC เพราะ APEC ก็เป็นกรอบใหญ่ที่มีหลายประเทศรวมไปถึง ASEM ด้วย จากข้อเสนอล่าสุดทำให้ผมคิดว่า ยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในครั้งนี้คือ การดึงเอาประเทศนอกภูมิภาค และกรอบความร่วมมืออื่นๆ เช่น APEC และ ASEM เข้ามาเพื่อที่จะถ่วงดุลอำนาจกับจีนซึ่งกำลังจะยิ่งใหญ่ขึ้นมาเรื่อย ๆ
6. ข้อเสนอของไทย
แต่ข้อเสนอยังไม่หมดเท่านั้น ไทยเราเองก็เสนอบ้าง เราเสนอที่จะให้มีเวทีที่เรียกว่า "Asia Cooperation Dialogue" หรือ ACD โดยไทยพยายามที่จะเป็นตัวเชื่อมเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเข้าด้วยกัน ACD จะเป็นเวทีที่จะมาคุยกันแบบหลวมๆ และจะสนับสนุนกรอบที่มีอยู่แล้ว และจะร่วมมือกันในการสร้างสมรรถนะของภูมิภาคให้แข็งแกร่งขึ้น และจะเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ
นอกจากนั้น ในตอนที่มีการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่บรูไน ไทยก็พยายามผลักดันให้มีกรอบอาเซียน+4 คือจะดึงเอาอินเดียเข้ามาอีก
1 ประเทศในกรอบอาเซียน แต่ข้อเสนอของไทยเราก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ข้อเสนอจึงตกไป
7.อนาคตของกลุ่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก
ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้กล่าวถึง ข้อเสนอต่างๆ เกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก แต่ประเด็นที่สำคัญ ที่ต้องขบคิด คือ ข้อเสนอต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น อาเซียนAPEC ข้อเสนอของเกาหลีใต้ ข้อเสนอของไทย ข้อเสนอเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน และข้อเสนอของญี่ปุ่น ที่มีหลายข้อเสนอด้วยกัน ข้อเสนอเหล่านี้ จะเสริมหรือขัดแย้งกัน อันนี้เป็นประเด็นที่เรา จะต้องขบคิดกันให้ดี
อีกประเด็นหนึ่ง คือ เรื่องของสมาชิกในชุมชนเอเชียที่เราจะสร้างขึ้นมา ปัญหาสำคัญ คือ ใครควรจะอยู่ข้างใน ใครควรจะอยู่ข้างนอก ควรจะจำกัดวงอยู่แค่ไหน วงขนาดนี้ที่เรากำลังมีอยู่ ก็คือ อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แต่ว่าล่าสุด ญี่ปุ่นและไทยกำลังจะขยายวง โดยการเอาออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐ เอเชียใต้ และอินเดีย เข้ามา
อนาคตของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ จะเป็นไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้
7.1 ประการแรก คือ เราคงจะต้องตอบคำถามอันนี้ และก็ควรจะต้องมาแก้ปัญหาตรงนี้ว่า ขณะนี้ มีข้อเสนอหลายข้อเสนอ ซึ่งจะเสริม ขัดแย้ง หรือว่าจะทำลายล้างกัน ผมมีความเห็นว่า กรอบของอาเซียน น่าจะเป็นแกนหลัก แต่ขณะนี้มีข้อเสนออื่นๆ เข้ามาทำให้สับสน ซึ่งผมก็หวังว่า ข้อเสนอเหล่านี้คงจะเสริมกัน เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ในอนาคตอาจจะต้องดึงเอาญี่ปุ่นเข้ามา เกาหลีเข้ามา ก็จะกลายเป็นเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ซึ่งก็ยังอยู่ในกรอบอาเซียนได้
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของญี่ปุ่นดูค่อนข้างจะสับสน ทำให้เห็นจุดยืนของญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นคงจะไม่พอใจนักกับกรอบอาเซียน ญี่ปุ่นคงจะมองแล้วว่า ถ้าปล่อยให้เป็นอาเซียน ไปเรื่อยๆ จีนก็จะโดดเด่นขึ้นมา และจะครอบงำกรอบนี้ และญี่ปุ่นก็จะอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ และไม่สามารถมาคานอำนาจจีนได้ เพราะฉะนั้น ญี่ปุ่นก็พยายามที่จะขยายกรอบให้ใหญ่ขึ้น
ขณะเดียวกัน ถ้าเราจะมองจุดยืนของไทยเราเอง ก็น่าสนใจเหมือนกัน ผมมองว่าจุดยืนของไทยอาจจะมีแนวคิดคล้ายๆ ญี่ปุ่น ที่พยายามดึงเอาอินเดียเข้ามาในกรอบของเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น Asian Cooperation dialogue ก็ดี อาเซียน ก็ดี เพราะฉะนั้น ตรงนี้เป็นปัญหาที่เราจะต้องดูกันต่อไปว่า ข้อเสนอเหล่านี้จะเสริมหรือขัดกันอย่างไร ก็เป็นโจทย์ใหญ่ว่า เราจะรวมเอาข้อเสนอต่างๆ รวมเป็นเนื้อเดียวกันอย่างไรเพื่อให้เสริมกัน
7.2 นอกจากปัจจัยที่ผมได้กล่าวไปแล้วยังมีปัจจัยอีกหลายตัวที่จะกำหนดว่า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของเอเชียจะสำเร็จมากน้อยเพียงใด เอเชียจะกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีพลังที่จะไปต่อสู้กับยุโรป กับอเมริกาได้อย่างไรแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งก็คือ ประเทศในเอเชียยังมีความรู้สึกของการเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ยังมีความรู้สึกว่าแข่งกันอยู่ ตรงนี้เป็นอุปสรรคอยู่
7.3 ปัจจัยอีกประการหนึ่ง คือ ความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีประเทศที่รวยเกือบที่สุดในโลกและประเทศที่จนเกือบที่สุดในโลก เพราะฉะนั้น รวมตัวกันลำบาก เปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป ที่ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ต่างกันมากขนาดนี้
7.4 ปัจจัยต่อไปเป็นปัจจัยทางด้านการเมือง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ตราบใดก็ตามที่จีนและญี่ปุ่นยังมีความรู้สึกว่าเป็นคู่แข่งกัน ยังมีความขัดแย้งทางการเมืองกันอยู่ ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะทำให้เอเชียตะวันออกไม่สามารถรวมกันได้อย่างสนิทใจ เราเห็นชัดเจนเมื่อปีที่แล้ว ที่ญี่ปุ่นกับจีนแข่งกัน จีนพยายามทำแต้มนำญี่ปุ่น โดยมีเขตการค้าเสรีกับอาเซียนก่อน ญี่ปุ่นก็พยายามแก้ลำจีน โดยการเสนอข้อเสนอเต็มไปหมด
เราอาจเปรียบเทียบว่า ความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่น ก็เหมือนกับความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีที่เคยขัดแย้งกัน ทำให้เกิดสงครามโลก แต่หลังสงครามฝรั่งเศสกับเยอรมนีเข้ากันได้ จึงทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจในยุโรปประสบความสำเร็จ
7.5 ต่อมา เป็นบทบาทและท่าทีของอเมริกา ซึ่งมีความสำคัญมาก การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ในเอเชียตะวันออกจะไปได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า อเมริกาเห็นด้วยมากน้อยแค่ไหน ถ้าอเมริกาเห็นว่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ในเอเชียตะวันออกจะเป็นภัย จะมาท้าทายอำนาจ และบทบาทของอเมริกา อเมริกาก็จะต่อต้าน
และถ้าอเมริกาต่อต้านก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญ เพราะว่าประเทศในเอเชียตะวันออก หลายประเทศยังต้องพึ่งพิงอเมริกา ด้านเศรษฐกิจ เช่น ในเรื่องของตลาด ประเทศไทยเราตลาดที่ใหญ่ที่สุด คือ ตลาดอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลี ก็เช่นกัน หลายๆ ประเทศ ยังต้องพึ่งพาสหรัฐ ถ้าอเมริกายังมีท่าทีไม่เห็นด้วย ประเทศในเอเชียก็จะรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ
7.6 อุปสรรคต่อไปเป็นปัญหาภายในอาเซียนด้วยกันเอง หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ อาเซียนก็แตก มีปัญหาระหว่างกันมาก มีปัญหาความแตกต่างกันของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ AFTA เองก็มีปัญหา นับประสาอะไรจะไปรวมในระดับที่ใหญ่กว่า เพราะฉะนั้น ถ้าเรายังแก้ปัญหาภายในอาเซียนไม่ได้ ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับที่ใหญ่ขึ้น
7.7 ปัจจัยสำคัญอีกอันหนึ่ง เป็นเรื่องของผู้นำ ใครจะเป็นผู้นำการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในเอเชีย ขณะนี้ในเอเชีย ในความรู้สึกลึกๆ เรายังไม่มีการยอมรับกันในการเป็นผู้นำ จีนก็ไม่ยอมรับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็ไม่ยอมรับจีน แม้กระทั่งอาเซียนเอง ลึกๆ แล้ว ก็ไม่ยอมญี่ปุ่นหรือจีน ในยุโรปค่อนข้างชัดเจนว่า ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นผู้นำการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ในทวีปอเมริกายิ่งชัดเจนใหญ่ว่า อเมริกาเป็นผู้นำในการรวมกลุ่ม NAFTA แคนาดา และเม็กซิโก ก็ถูกดึงเข้ามา ในระยะต่อไปก็จะมี FTAA ขึ้นมา เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 ทวีปเลย
เมื่อมองกลับมาที่เอเชีย เรามีปัญหาตรงนี้ แต่อาจจะเป็นไปได้ อาจจะไม่จำเป็นว่าเราจะต้องมีผู้นำ เอาแค่ผู้ประสานงานก็ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้น อาเซียนก็อาจจะรับบทเป็นผู้ประสานงานก็อาจจะแก้ปัญหาไปได้ แต่ขณะนี้ก็ยังเป็นปัญหาอยู่
7.8 นอกจากนั้น ถ้าเราลองเอากรณีซึ่งประสบผลสำเร็จในแง่ของการรวมตัวทางเศรษฐกิจ คือ สหภาพยุโรป ถ้าเราเอามาเปรียบเทียบกันแล้ว การที่สหภาพยุโรปประสบความสำเร็จได้ เพราะปัจจัยในเรื่องที่มีภัยคุกคามจากข้างนอก คือ ในสมัยสงครามเย็นมีภัยคอมมิวนิสต์ มีรัสเซีย ซึ่งค่อนข้างจะเป็นภัยที่น่ากลัวที่ทำให้ยุโรปรวมตัวกันได้อย่างเร็วขึ้น แต่ว่าในเอเชีย เราไม่มีปัจจัยตรงนี้ ที่จะมาเป็นตัวเร่งกระบวนการรวมตัว เราไม่มีภัยที่ชัดเจนจากภายนอกเหมือนยุโรป
7.9 หรือแม้กระทั่งปัจจัยทางด้านการเมือง แรงผลักดันทางด้านการเมือง ยุโรปมีการรวมตัวกันได้ก็เพราะว่ากลัวจะเกิดสงครามโลกขึ้นมาอีก คิดว่า การรวมตัวทางเศรษฐกิจ จะป้องกันไม่ให้เกิดสงครามโลกขึ้นมา แต่ว่าในเอเชียขณะนี้ ความรู้สึกกลัวอย่างนี้ไม่มี
7.10 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยในด้านระบบการเมือง ยุโรปรวมกันได้ เพราะมีระบบการเมืองเหมือนกัน คือ ประชาธิปไตย แต่ว่าในเอเชีย เรายังมีความหลากหลายมาก เป็นอุปสรรคอีกประการหนึ่ง
7.11 ในเรื่องความแตกต่างทางอารยธรรม ยุโรปนั้นเป็นตะวันตกอันเดียวกัน คือ อารยธรรมตะวันตก แต่ในเอเชียนั้นมีหลายอารยธรรม มีทั้งอิสลาม จีน พุทธ ฯลฯ หลากหลายทำให้รวมกันลำบาก
7.12 การรวมตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียนั้น จะถูกเร่งเร็วมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการรวมตัวในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย ว่าเขาไปกันมากน้อยแค่ไหน ถ้าในภูมิภาคอื่นมีการรวมตัวหนักขึ้น ลึกขึ้น ก็จะเป็นแรงกดดันให้เอเชียรวมตัวกันมากขึ้น
7.13 สุดท้าย ก็คือ ใน WTO ถ้าการเจรจาใน WTO ประสบความล้มเหลวในรอบโดฮา ก็จะกระตุ้นให้เอเชียรวมตัวกันมากขึ้นด้วย
วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
North America Free Trade Agreement : NAFTAข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือเรียกคำย่อว่า นาฟตา เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาเหนือ ในการที่จะร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ประวัติการก่อตั้งหลังจากที่สหภาพยุโรป ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียวแล้ว ผู้นำแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโกได้จัดประชุมกันเมื่อ พ.ศ.2535 ที่จะเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันให้เป็นตลาดเดียว และจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี โดยจะเริ่มดำเนิน
การตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไปวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
1. เพื่อแสวงหาตลาดสินค้าส่งออกในภูมิภาคอื่น
2. เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะผลิตสินค้าให้ได้ราคาถูกและมีคุณภาพดี 3. เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กให้ขยายตัวและมีประสิทธิภาพสูงผลการปฏิบัติงาน
ประเทศสมาชิกต่างได้รับผลประโยชน์จากการทำข้อตกลงทางการค้าเสรีอเมริกาเหนือ คือ เม็กซิโก ซึ่งก่อนหน้านี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินเปโซตกต่ำมากก็เริ่มแข็งตัวขึ้น ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซากลับฟื้นและดีขึ้นโดยลำดับ ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาปล่อยสินเชื่อระยะยาว ลดอัตราภาษีนำเข้า และอนุญาตให้รถบรรทุกของเม็กซิโกแล่นผ่านเข้าสู่สหรัฐอเมริกาได้ โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าที่ชายแดน อันเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลา สหรัฐอเมริกา มีสินค้าส่งออกไปเม็กซิโกและแคนาดามากขึ้น ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้น และทำให้มีตำแหน่งงานเพิ่ม มีการจ้างงานมากขึ้น แคนาดาสามารถซื้อสินค้าของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกถูกลง อันเนื่องมาจากการลดอัตราภาษีศุลกากรความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
ไทยไม่ได้เป็นสมาชิกของนาฟตา แต่การดำเนินการงานของนาฟตามีผลกระทบโดยตรงต่อการค้าของไทย คือ การออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ของประเทศในกลุ่มนาฟตา ทำให้มีการกระทบต่อสินค้าไทย เช่น ประเทศแคนาดาและเม็กซิโก ได้ออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้ารถยนต์ และผ้าผืนที่ทอจากโรงงานและไม่ได้ตัดเย็บจะส่งเข้าไปยังแคนาดาและเม็กซิโก เป็นการจำกัดและกีดกันสินค้าที่สั่งเข้าจากประเทศไทย ประการหนึ่ง และทำให้ไทยขายสินค้าได้น้อยลง ประเทศเม็กซิโก ขึ้นอัตราภาษีศุลกากร เครื่องหนัง และรองเท้าที่สั่งเข้าจากประเทศนอกกลุ่มนาฟตา ทำให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้นไปด้วย จึงส่งออกได้น้อยลง
นอกจากนี้ เม็กซิโกซึ่งเป็นสมาชิกของนาฟตา มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไทย มีแรงงานราคาถูก มีวัตถุดิบและผลิตสินค้าได้คล้ายคลึงกับประเทศไทย จึงคาดกันว่าหากเม็กซิโกได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าอื่นๆ จากสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศภาคีสมาชิก เม็กซิโกจะมีบทบาทในการส่งสินค้าเข้าสหรัฐอเมริกาแทนที่ประเทศไทย ประกอบกับเม็กซิโกอยู่ใกล้กับสหรัฐอเมริกา ทำให้การขนส่งสินค้าทำได้รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้า สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารกระป๋องและชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ซึ่งไทยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาปีละมากๆ
ความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก
ความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก
"ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซีย-แปซิฟิค" หรือ "เอเปค" จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เพื่อตอบสนองการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวมากขึ้นในหมู่ประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิค โดยเริ่มต้นจากกลุ่มประเทศที่อยู่ริมมหาสมุทรแปซิฟิค ไม่กี่ประเทศรวมตัวกัน อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Dialogue Group) จนกลายเป็นเวทีหลัก ในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าเสรีอย่างจริงจังในที่สุด ทั้งนี้ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จุดมุ่งหมายหลักของเอเปค คือ เสริมสร้างพลังทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคให้ก้าวไปข้างหน้า และสร้างจิตสำนึก ที่จะรวมกันเป็นรูปกลุ่มความร่วมมือขึ้น โดยจะไม่จัดตั้งเป็นรูปแบบองค์กรถาวร เหมือนกลุ่มประเทศอาเซียน หรือสหภาพยุโรป สมาชิกเอเปคทั้งหมด ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รวมกันทั้งสิ้นกว่า US$19,293 พันล้านเหรียญสหรัฐ (US$ billion) หรือ 47.5% ของการค้าโลกในปี พ.ศ. 2544
สมาชิกเอเปค (APEC Member Economies) จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
ผู้สังเกตการณ์ถาวร 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat), สภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาคพื้นแปซิฟิค (Pacific Economic Cooperation Council - PECC), และเวทีหารือแปซิฟิคใต้ (South Pacific Forum - SPF)
หมายเหตุ เอเปคมีระเบียบการเรียกชื่อสมาชิกเขตเศรษฐกิจ ต่างจากที่เรียกขานตามปกติ ทั้งในเอกสาร และในการประชุมอย่างเป็นทางการของเอเปค คือ จะใช้คำว่า "Economy - เขตเศรษฐกิจ" แทนคำว่า "Country - ประเทศ" ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายจีนเดียวแต่สองระบบเศรษฐกิจ ("One Country, Two Systems" principle) โดยกำหนดให้เรียกไต้หวันว่า "จีน ไทเป - Chinese Taipei" และตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา เมื่อฮ่องกงรวมเข้ากับประเทศจีนแล้ว กำหนดให้เรียกฮ่องกง ว่า "จีน ฮ่องกง - Hong Kong, China"
ข้อสังเกต ในการประชุมของเอเปคไม่ว่าในระดับใด จะไม่มีการประดับธงชาติของเขตเศรษฐกิจสมาชิกไว้ ณ สถานที่ประชุม ไม่ว่าจะเป็นบนโต๊ะประชุม ในห้องประชุม หรืออาคารที่จัดประชุม เช่นเดียวกับการประชุมระดับนานาชาติอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากเรียกขานสมาชิกว่า economy มิใช่ country จึงไม่ควรมีธงชาติมาแสดงความเป็นประเทศใดๆ สำหรับการจัดโต๊ะประชุม จะต้องเสมอกันทุกเขตเศรษฐกิจ โดยจัดเป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยม โดยเรียงตามลำดับชื่อเขตเศรษฐกิจ ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษไปโดยรอบ
การจัดโต๊ะประชุมเอเปค
จุดประสงค์ของเอเปค
เพื่อเสริมสร้างภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค ให้มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่เสมอภาคกัน ด้วยความร่วมมือทางด้านการค้าและเศรษฐกิจ (to build the Asia-Pacific community through achieving economic growth and equitable development through trade and economic cooperation)
การดำเนินงานของเอเปค
เอเปคดำเนินงานด้วยมติ ที่เป็นเอกฉันท์ (Consensus) ในหมู่สมาชิก กล่าวคือหากเขตเศรษฐกิจใด ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอใดแล้ว ให้ถือว่าข้อเสนอนั้นตกไป ดังนั้น ก่อนการประชุมสำคัญๆ จะมีการทาบทามให้เห็นชอบกันก่อนเสมอ
เอเปคได้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยตั้งอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานด้านโครงการ และงบประมาณกลางของเอเปค เจ้าหน้าที่บริหารของสำนักงานเลขาธิการเอเปค คือ Executive Director ดำรงตำแหน่งวาระละ 1 ปี โดยปกติ เขตเศรษฐกิจที่เป็นเจ้าภาพเอเปคในปีนั้น จะรับหน้าที่ Executive Director โดยมีเขตเศรษฐกิจที่จะเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีถัดไป ทำหน้าที่เป็น Deputy Executive Director (สถานะของ Executive Director จะเป็นระดับเอกอัครราชทูต - Ambassador)
APEC SECRETARIATWith effect from 2 December 2002, the address for the new APEC Secretariat building is as follows:APEC Secretariat35 Heng Mui Keng TerraceSingapore 119616Telephone: 65-6775-6012 Facsimile: 65-6775-6013 Email info@mail.apecsec.org.sg
Tel (65) 276-1880, Fax (65) 275-1775 -->URL: http://www.apecsec.org.sg
เอเปคแยกการปฏิบัติงานออกเป็นระดับต่างๆ คือ
1. การประชุมผู้นำเอเปค (Informal Meetings of Economic Leaders) ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นตามความเหมาะสม ได้มีการประชุมระดับผู้นำเอเปคไปแล้ว คือ
1. สหรัฐอเมริกา เบลก ไอแลนด์ (Blake Island), ซีแอตเติล 20 พฤศจิกายน 2536
2. อินโดนีเซีย โบกอร์ 15 พฤศจิกายน 2537
3. ญี่ปุ่น โอซากา 19 พฤศจิกายน 2538
4. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Subic 25 พฤศจิกายน 2539
5. แคนาดา แวนคูเวอร์ 25 พฤศจิกายน 2540
6. มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ 18 พฤศจิกายน 2541
7. นิวซีแลนด์ Auckland 12 กันยายน 2542
8. บรูไน ดารุสซาลาม Bandar Seri Begawan 16 พฤศจิกายน 2543
9 จีน Shanghai 20 ตุลาคม 2544
10. เม็กซิโก Los Cabos 27 ตุลาคม 2545
11. ไทย กรุงเทพ 20-21 ตุลาคม 2546
12. ชิลี ซานติอาโก 20-21 พฤศจิกายน 2547
13. เกาหลี ปูซาน 18-19 พฤศจิกายน 2548
14. ฮานอย เวียดนาม 18-19 พฤศจิกายน 2549
15. ซิดนีย์ ออสเตรเลีย 8-9 กันยายน 2550
2. การประชุมระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (APEC Ministerial Meetings - AMM - and Senior Officials Meetings) ประเทศต่างๆ จะผลัดกันเป็นประธานเอเปค (APEC Chair) หมุนเวียนกันไปทุกปี โดยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีเศรษฐกิจขึ้นในประเทศของตน ทั้งนี้โดยมีข้อตกลงกันว่าทุกครั้งเว้นครั้ง จะต้องจัดในประเทศกลุ่มอาเซียน
กำหนดการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสตั้งแต่แรกตั้ง คือ
1 ออสเตรเลีย (แคนเบอร่า) 2532
2 สิงคโปร์ 2533
3 สาธารณรัฐเกาหลี (โซล) 2534
4 ประเทศไทย (กรุงเทพ) 2535
5 สหรัฐอเมริกา (ซีแอตเติล) 2536
6 อินโดนีเซีย (จาการ์ต้า) 2537
7 ญี่ปุ่น (โอซากา) 2538
8 ฟิลิปปินส์ (มะนิลา) 2539
9 แคนาดา (แวนคูเวอร์) 2540
10 มาเลเซีย (กัวลาลัมเปอร์)
11 นิวซีแลนด์ (ออคแลนด์) 2542
12 บรูไน ดารุสซาลาม (บันดาร์ เสรี เบกาวัน) 2543
13 สาธารณรัฐประชาชนจีน (เซี่ยงไฮ้) 2544
14 เม็กซิโก (เม็กซิโก ซิตี้) 2545
15 ประเทศไทย (กรุงเทพฯ) 2546
16 ชิลี (ซานติอาโก) 2547
17 เกาหลี (Busan) 2548
18 เวียดนาม (ฮานอย) 2549
19 ออสเตรเลีย (ดาร์วิน) 2550
20 เปรู 2551
นอกเหนือจากการประชุมรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศ ซึ่งจัดให้มีขึ้นตามปกติทุกปีแล้ว ยังมีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ (Ministerial Meetings) ที่จัดขึ้นตามวาระที่เหมาะสมอีกด้วย
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค แต่เดิมรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงาน ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จะทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีพลังงานของประเทศไทย การประชุมรัฐมนตรีพลังงานของเอเปค (EMM - APEC Energy Ministers Meetings) ได้จัดขึ้นดังนี้
EMM1
28-29 สิงหาคม 2539
นคร Sydney ประเทศออสเตรเลียรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์) ติดราชการได้มอบหมายให้ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) เป็นผู้แทน
EMM2
26-27 สิงหาคม 2540
นคร Edmonton มณฑลอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)
EMM3
9-10 ตุลาคม 2541
เมือง Ginowan Okinawa ประเทศญี่ปุ่นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค)
EMM4
12 พฤษภาคม 2543
นคร San Diego มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริการัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค)
EMM5
23 กรกฎาคม 2545
กรุง Mexico City ประเทศเม็กซิโกรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา)
EMM6
10 มิถุนายน 2547
กรุง Manila ประเทศฟิลิปปินส์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช)
EMM7
19 ตุลาคม 2548
เมือง Gyeongju, สาธารณรัฐเกาหลีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายวิเศษ จูภิบาล)
EMM8
29 พฤษภาคม 2550
เมือง Darwin ประเทศออสเตรเลียรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์)
ตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2545 เมื่อมีการปรับปรุงระบบราชการ และจัดตั้งกระทรวงพลังงานขึ้นแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นรัฐมนตรีพลังงานของไทย ไปร่วมประชุม โดยมีปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานเอเปค ของไทย
3. คณะกรรมการถาวร (Committees) ปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ชุด คือ
คณะกรรมการการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) จัดตั้งขึ้นในปี 1994 (predecessor RTI from 1992) จากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวก ให้สินค้าและบริการ ไหลเวียนได้อย่างสะดวก ในหมู่สมาชิก คณะกรรมการชุดนี้นับว่า เป็นกลไกสำคัญที่สุดของเอเปค ในการดำเนินการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ ตามแผนปฏิบัติการโอซากา - ประกอบด้วยการดำเนินงานด้านต่างๆ ได้แก่ Sub-Committees/Experts Groups 11 ชุด คือ
Sub-Committee on Standards & Conformance
Sub-Committee on Customs Procedures
Market Access Group
Group on Services
Investment Experts Group
Intellectual Property Rights
Government Procurement
Mobility of Business People
Competition Policy/Deregulation
WTO Capacity Building
Strengtening Economic Legal Infrastructure - สำหรับสาขาพลังงาน เอเปคได้จัดไว้ภายใต้หัวข้อ "การค้าบริการ (Services)" ซึ่งจะต้องดำเนินการเปิดเสรี ไปพร้อมกันกับสาขาเศรษฐกิจอื่นๆ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านพลังงานของไทย (Thailand Energy Individual Action Plan) ตามแผนเปิดเสรีทางการค้า และบริการของเอเปค โดยที่ไทยอยู่ในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา ที่จะต้องเปิดเสรีสาขาพลังงาน อย่างเต็มที่ในปี 2020 คือขยายเวลา ให้ดำเนินการเปิดการค้าเสรี ให้สำเร็จหลังประเทศพัฒนาแล้วได้อีก 10 ปี
คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Committee - EC) จัดตั้งขึ้นในปี 1995 (predecessor ETI 1991) จากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค โดยปัจจุบัน เน้นการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ และการศึกษาประเด็นเศรษฐกิจเฉพาะเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวพันต่อเนื่องกัน- มีคณะอนุกรรมการย่อย (Sub-Group) 1 คณะ คือ EC Outlook Taskforce
คณะกรรมการ ECOTECH (SOM Committee on Economic and Technical Cooperation - ESC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1998 เพื่อช่วยเหลือ SOM ในการประสานงานด้าน ECOTECH- มีคณะอนุกรรมการย่อย (Sub-Group) 1 คณะ คือ Group on Economic Infrastructure, ยกเลิกเมื่อปี 2002
คณะกรรมการงบประมาณและการบริหารงาน (Budget and Management Committee - BMC) ก่อตั้ง 1994 (called BAC before 1999) มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในเรื่องงบประมาณ และการบริหารจัดการต่างๆ มีการประชุมตามปกติปีละ 2 ครั้ง
4. กลุ่มที่ปรึกษา (Advisory Group) - ปัจจุบันมีเพียง 1 กลุ่ม คือ
สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2538 ตามมติที่ประชุมผู้นำที่โอซากา ประกอบด้วยนักธุรกิจเขตเศรษฐกิจละ 3 คน เพื่อให้คำปรึกษาในการดำเนินงาน และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคธุรกิจต่างๆ
5. กลุ่มคณะทำงานเฉพาะกิจ (SOM Special Tasks Group) ปัจจุบันมี 3 ชุด คือ
Steering Group on E-Commerce, ก่อตั้ง 1999
Counter Terrorism Task Force
Gender Focal Point Network
6. คณะทำงาน (Working Groups)
คณะทำงานด้านต่างๆ ทั้ง 12 คณะนี้ นับเป็นกลไกการปฏิบัติงานตามปกติของเอเปค คือเป็นทั้งผู้รับนโยบายจากการประชุมระดับผู้นำ การประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ไปปฏิบัติให้เกิดผลงานอย่างจริงจัง พร้อมทั้งต้องเสนอแนะ และริเริ่มงานที่จะก่อประโยชน์ ตามลักษณะงานของแต่ละคณะทำงานนั้นๆ โดยแต่ละคณะทำงาน จะแยกการดำเนินงาน ผ่านทางกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups) ต่างๆ ที่ประกอบด้วยผู้แทน จากแต่ละเขตเศรษฐกิจ ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้นๆ โดยตรงมาร่วมเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
คณะทำงานด้านพลังงาน (Energy), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านการประมง (Fisheries), ก่อตั้ง 1991
คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Science and Technology), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำ (Marine Resources Conservation), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ (Telecommunications & Information), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านส่งเสริมการค้า (Trade Promotion), ก่อตั้ง 1990
คณะทำงานด้านการคมนาคมขนส่ง (Transportation), ก่อตั้ง 1991
คณะทำงานด้านการท่องเที่ยว (Tourism), ก่อตั้ง 1991
คณะทำงานด้านความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร (Agricultural Technical Cooperation), ก่อตั้ง 2539
คณะทำงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small & Medium Enterprises), ก่อตั้ง 2538
คณะทำงานด้านข้อมูลการค้าและการลงทุน (Trade & Investment Data), ก่อตั้ง 1990/ ยกเลิก พ.ย.1998
วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ตัวอย่างกลุ่มเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย
สหภาพยุโรป
สหภาพยุโรปปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐออสเตรีย ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐเฮเลนิก (กรีซ) ไอร์แลนด์ สาธารณรัฐอิตาลี ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐโปรตุเกส ราชอาณาจักรสเปน ราชอาณาจักรสวีเดิน และสหราชอาณาจักร ประชาการโดยรวม 370 ล้านคน มีมูลค่าการค้ามากที่สุดในโลก
การลงนามในสนธิสัญญานีซ
ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินในด้านนโยบาย และรองรับการขยายสมาชิกสหภาพยุโรป จะทำให้สหภาพยุโรปมีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และจะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินสกุลยูโรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเศรษฐกิจที่สหภาพยุโรปตั้งขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับดอลล่าร์สหรัฐฯ
สหภาพยุโรปมีบทบาทสำคัญในการรักษาสันติภาพ และเสถียรภาพในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ การต่อต้านโครงการป้องกันขีปนาวุธแห่งชาติของสหรัฐฯ ซึ่งฝรั่งเศสและเยอรมนีเห็นว่าจะนำไปสู่การสะสมอาวุธครั้งใหม่ กรณีนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐฯ
สหภาพยุโรปยังมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องอื่น ๆ เช่น การต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การลดอาวุธนิวเคลียร์ การแก้ปัญหายาเสพติด การปราบปรามการคอร์รัปชั่น เป็นต้น
สหภาพยุโรปได้กำหนดยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปต่อเอเชีย (Towards a New Asia Strategy) ทำให้สหภาพยุโรปเข้ามามีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ การเสริมสร้างสันติภาพ และความมั่นคงในภูมิภาค เช่น การเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลาง โดยเน้นความช่วยเหลือแก่ปาเลสไตน์ การสนับสนุนการสร้างสรรค์สันติภาพในคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น ซึ่งการดำเนินนโยบายทางการเมืองระหว่างประเทศของสหภาพยุโรปต่อกรณีดังกล่าวข้างต้น จะมีความแตกต่างไปจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปยังเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการค้าการลงทุน การปกป้องสิทธิมนุษยชน และการพัฒนาประชาธิปไตย
ความมุ่งมั่นทางการเมืองของสหภาพยุโรป ที่จะมีบทบาทเป็นมหาอำนาจทางการเมืองและความมั่นคงนอกภูมิภาคของตนเอง อาจมองได้ว่าสหภาพยุโรปเปรียบเสมือนมหาอำนาจใหม่ เนื่องจากมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับสหรัฐฯ หากความร่วมมือระหว่างจีนและอนุภาคของเอเชียตามยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปต่อเอเชีย กับสหภาพยุโรปมีมากขึ้น ย่อมหมายถึงการรวมแหล่งพลังงาน แหล่งอาหาร และแหล่งผลิตที่มีแรงงานราคาถูกเหล่านี้ อันจะส่งผลกระทบต่อการเป็นหุ้นส่วนเชิงแข่งขันระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดบทบาทของไทยในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
การเป็นเอกภาพของสหภาพยุโรป และการประกาศใช้เงินตราสกุล “ยูโร” ตั้งแต่ 1 ม.ค.45 เป็นต้นมานั้น แสดงให้เห็นการรวมตัวของผู้นำยุโรปที่มีวิสัยทัศน์ไกลต่ออนาคตที่จะเกิดขึ้น ทั้งเป็นการเปลี่ยนสถานภาพของกลุ่มประเทศที่ต้องพึ่งพาและหวาดกลัวต่ออิทธิพลของสหรัฐฯ ให้กลายเป็นมหาอำนาจใหม่ของประชาคมโลก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังเกิดปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติที่บรรดาหมู่มวลสมาชิกของประเทศที่ใช้เงินตระกูลเดียวกัน ไม่สามารถพูดนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นเสียงเดียวกันได้ สาเหตุเกิดจากแต่ละประเทศมีนโยบายทางด้านการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเลือกตั้ง ซึ่งแตกต่างจากนโยบายทางเศรษฐกิจ ธนาคารกลางยุโรป (ECR) ต้องควบคุมนโยบายซึ่งส่งผลต่อมวลสมาชิกในทิศทางที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของ EU ก็ยังคงดำรงความมุ่งหมายเป็นส่วนรวมในการปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม และยังคงดำเนินมาตรการกีดกันคู่ค้าจากกลุ่มอื่นๆ ทั้งสหรัฐฯ จีน รวมทั้งอาเซียน ซึ่งจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อการส่งออกของกลุ่มอื่น ๆ เหล่านั้นโดยตรง
สหภาพยุโรปยังคงใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่อสินค้าจากต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น การกำหนดมาตรฐานสินค้าไว้สูงมากกว่าที่เคยกำหนด แสดงถึงความตั้งใจในการกีดกันทางการค้าโดยตรง เช่นกรณี กุ้งกุลาดำแช่แข็งของไทย ซึ่งขณะนี้กำลังมีปัญหาอยู่อย่างมาก เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ และยุโรปเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไทย
หลังจาก 11 ก.ย.44 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้แสดงจุดยืนในการให้การสนับสนุนนโยบายการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ อย่างเด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อังกฤษ โดยนายกรัฐมนตรี โทนี่ แบลร์ ได้ร่วมในการแถลงการณ์ร่วมกับประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช ถึงความมุ่งมั่น และร่วมมือดังกล่าว หลายประเทศได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมกับสหรัฐฯ ในการทำสงครามไล่ล่า นาย โอซามา บินลาเดน และล้มล้างรัฐบาลตาลีบันในอัฟกานิสถาน ทำให้เห็นได้ว่าความแนบแน่นของสหรัฐฯ กับยุโรป จะมีความร่วมมือกันใกล้ชิดมากขึ้น
ปัญหาการต่อต้านเชื้อชาติอื่น ๆ (White Supremacy) ซึ่งเกิดขึ้นมากมายในอังกฤษ และเยอรมัน ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีการต่อต้านชนชาติอื่นที่ไม่ใช่คนผิวขาวว่าไม่ใช่พวกของตนเอง มีการทำร้ายร่างกายและกีดกันคนเหล่านี้ด้านต่าง ๆ ตลอดจนกระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ของชนบางกลุ่มที่มีความเห็นว่าโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบของมหาอำนาจต่อชาติเล็ก ๆ ยังมีอยู่ต่อไป นอกจากนี้ กระแสนิยมขวาจัดและความนิยมนักการเมืองฝ่ายขวากำลังแพร่ระบาด และกำลังกลับมาได้รับความนิยม และได้รับการตอบสนองจาประชาชนในยุโรปมากขึ้น
สหภาพยุโรปปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐออสเตรีย ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐเฮเลนิก (กรีซ) ไอร์แลนด์ สาธารณรัฐอิตาลี ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐโปรตุเกส ราชอาณาจักรสเปน ราชอาณาจักรสวีเดิน และสหราชอาณาจักร ประชาการโดยรวม 370 ล้านคน มีมูลค่าการค้ามากที่สุดในโลก
การลงนามในสนธิสัญญานีซ
ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินในด้านนโยบาย และรองรับการขยายสมาชิกสหภาพยุโรป จะทำให้สหภาพยุโรปมีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และจะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินสกุลยูโรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเศรษฐกิจที่สหภาพยุโรปตั้งขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับดอลล่าร์สหรัฐฯ
สหภาพยุโรปมีบทบาทสำคัญในการรักษาสันติภาพ และเสถียรภาพในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ การต่อต้านโครงการป้องกันขีปนาวุธแห่งชาติของสหรัฐฯ ซึ่งฝรั่งเศสและเยอรมนีเห็นว่าจะนำไปสู่การสะสมอาวุธครั้งใหม่ กรณีนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐฯ
สหภาพยุโรปยังมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องอื่น ๆ เช่น การต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การลดอาวุธนิวเคลียร์ การแก้ปัญหายาเสพติด การปราบปรามการคอร์รัปชั่น เป็นต้น
สหภาพยุโรปได้กำหนดยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปต่อเอเชีย (Towards a New Asia Strategy) ทำให้สหภาพยุโรปเข้ามามีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ การเสริมสร้างสันติภาพ และความมั่นคงในภูมิภาค เช่น การเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลาง โดยเน้นความช่วยเหลือแก่ปาเลสไตน์ การสนับสนุนการสร้างสรรค์สันติภาพในคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น ซึ่งการดำเนินนโยบายทางการเมืองระหว่างประเทศของสหภาพยุโรปต่อกรณีดังกล่าวข้างต้น จะมีความแตกต่างไปจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปยังเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการค้าการลงทุน การปกป้องสิทธิมนุษยชน และการพัฒนาประชาธิปไตย
ความมุ่งมั่นทางการเมืองของสหภาพยุโรป ที่จะมีบทบาทเป็นมหาอำนาจทางการเมืองและความมั่นคงนอกภูมิภาคของตนเอง อาจมองได้ว่าสหภาพยุโรปเปรียบเสมือนมหาอำนาจใหม่ เนื่องจากมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับสหรัฐฯ หากความร่วมมือระหว่างจีนและอนุภาคของเอเชียตามยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปต่อเอเชีย กับสหภาพยุโรปมีมากขึ้น ย่อมหมายถึงการรวมแหล่งพลังงาน แหล่งอาหาร และแหล่งผลิตที่มีแรงงานราคาถูกเหล่านี้ อันจะส่งผลกระทบต่อการเป็นหุ้นส่วนเชิงแข่งขันระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดบทบาทของไทยในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
การเป็นเอกภาพของสหภาพยุโรป และการประกาศใช้เงินตราสกุล “ยูโร” ตั้งแต่ 1 ม.ค.45 เป็นต้นมานั้น แสดงให้เห็นการรวมตัวของผู้นำยุโรปที่มีวิสัยทัศน์ไกลต่ออนาคตที่จะเกิดขึ้น ทั้งเป็นการเปลี่ยนสถานภาพของกลุ่มประเทศที่ต้องพึ่งพาและหวาดกลัวต่ออิทธิพลของสหรัฐฯ ให้กลายเป็นมหาอำนาจใหม่ของประชาคมโลก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังเกิดปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติที่บรรดาหมู่มวลสมาชิกของประเทศที่ใช้เงินตระกูลเดียวกัน ไม่สามารถพูดนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นเสียงเดียวกันได้ สาเหตุเกิดจากแต่ละประเทศมีนโยบายทางด้านการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเลือกตั้ง ซึ่งแตกต่างจากนโยบายทางเศรษฐกิจ ธนาคารกลางยุโรป (ECR) ต้องควบคุมนโยบายซึ่งส่งผลต่อมวลสมาชิกในทิศทางที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของ EU ก็ยังคงดำรงความมุ่งหมายเป็นส่วนรวมในการปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม และยังคงดำเนินมาตรการกีดกันคู่ค้าจากกลุ่มอื่นๆ ทั้งสหรัฐฯ จีน รวมทั้งอาเซียน ซึ่งจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อการส่งออกของกลุ่มอื่น ๆ เหล่านั้นโดยตรง
สหภาพยุโรปยังคงใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่อสินค้าจากต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น การกำหนดมาตรฐานสินค้าไว้สูงมากกว่าที่เคยกำหนด แสดงถึงความตั้งใจในการกีดกันทางการค้าโดยตรง เช่นกรณี กุ้งกุลาดำแช่แข็งของไทย ซึ่งขณะนี้กำลังมีปัญหาอยู่อย่างมาก เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ และยุโรปเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไทย
หลังจาก 11 ก.ย.44 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้แสดงจุดยืนในการให้การสนับสนุนนโยบายการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ อย่างเด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อังกฤษ โดยนายกรัฐมนตรี โทนี่ แบลร์ ได้ร่วมในการแถลงการณ์ร่วมกับประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช ถึงความมุ่งมั่น และร่วมมือดังกล่าว หลายประเทศได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมกับสหรัฐฯ ในการทำสงครามไล่ล่า นาย โอซามา บินลาเดน และล้มล้างรัฐบาลตาลีบันในอัฟกานิสถาน ทำให้เห็นได้ว่าความแนบแน่นของสหรัฐฯ กับยุโรป จะมีความร่วมมือกันใกล้ชิดมากขึ้น
ปัญหาการต่อต้านเชื้อชาติอื่น ๆ (White Supremacy) ซึ่งเกิดขึ้นมากมายในอังกฤษ และเยอรมัน ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีการต่อต้านชนชาติอื่นที่ไม่ใช่คนผิวขาวว่าไม่ใช่พวกของตนเอง มีการทำร้ายร่างกายและกีดกันคนเหล่านี้ด้านต่าง ๆ ตลอดจนกระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ของชนบางกลุ่มที่มีความเห็นว่าโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบของมหาอำนาจต่อชาติเล็ก ๆ ยังมีอยู่ต่อไป นอกจากนี้ กระแสนิยมขวาจัดและความนิยมนักการเมืองฝ่ายขวากำลังแพร่ระบาด และกำลังกลับมาได้รับความนิยม และได้รับการตอบสนองจาประชาชนในยุโรปมากขึ้น
ตัวอย่างความร่วมมือแต่ละภูมิภาค
ภูมิภาค ชื่อกลุ่ม ระดับการรวมกลุ่ม
ยุโรป สหภาพยุโรป สหภาพเศรษฐกิจ
( Union : EU)
สมาคมการค้าเสรียุโรป เขตการค้าเสรี
(European Free Trade Association)
อเมริกาเหนือ ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เขตการค้าเสรี
(North American Free Trade Agreement : NAFTA)
อเมริกาใต้ ตลาดร่วมอเมริกากลาง เขตการค้าเสรี
(Central American Common Market)
สมาคมเศรษฐกิจละตินอเมริกา เขตการค้าเสรี
(Latin American Integration Association)
องค์การสนธิสัญญาแอนดีน ตลาดร่วม
(Andean Pact)
เอเชีย เขตการค้าเสรีอาเซียน เขตการค้าเสรี
(ASEAN Free Trade Area : AFTA)
ความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก เขตการค้าเสรี
(Asia Pacific Economic Cooperation : APEC)
เขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก เขตการค้าเสรี
(East Asia Economic Caucus : EAEC)
แอฟริกา ประชาคมแอฟริกาตะวันออก ตลาดร่วม
(East African Community)
ยุโรป สหภาพยุโรป สหภาพเศรษฐกิจ
( Union : EU)
สมาคมการค้าเสรียุโรป เขตการค้าเสรี
(European Free Trade Association)
อเมริกาเหนือ ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เขตการค้าเสรี
(North American Free Trade Agreement : NAFTA)
อเมริกาใต้ ตลาดร่วมอเมริกากลาง เขตการค้าเสรี
(Central American Common Market)
สมาคมเศรษฐกิจละตินอเมริกา เขตการค้าเสรี
(Latin American Integration Association)
องค์การสนธิสัญญาแอนดีน ตลาดร่วม
(Andean Pact)
เอเชีย เขตการค้าเสรีอาเซียน เขตการค้าเสรี
(ASEAN Free Trade Area : AFTA)
ความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก เขตการค้าเสรี
(Asia Pacific Economic Cooperation : APEC)
เขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก เขตการค้าเสรี
(East Asia Economic Caucus : EAEC)
แอฟริกา ประชาคมแอฟริกาตะวันออก ตลาดร่วม
(East African Community)
การจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาค ตามแบบของ Bela Balassa
ขั้นตอนการบูรณาการทางเศรษฐกิจ
Bela Balassa กล่าวว่าขั้นตอนของการบูรณาการจะเป็นเหมือนกับบันได 5 ขั้นคือ
1.เขตเศรษฐกิจเสรี (Free Trade Area) ขั้นแรกนี้จะมีการยกเลิกกำแพงภาษี ยกเลิกระบบโควต้า และการกำหนดปริมาณสินค้า
2.สหภาพศุลกากร (Customs Union) ขั้นนี้จะมีการ ขจัดการเลือกปฏิบัติระหว่างสมาชิก นั่นคือภายในกลุ่มจะไม่มีการเก็บภาษี เคลื่อนย้ายสินค้าบริการภายในกลุ่มอย่างสะดวก ขจัดข้ออุปสรรต่างๆภายในกลุ่ม แต่ไปตั้งการกีดกัดกับภายนอกกลุ่ม
3.ตลาดร่วม (Common Markets) ขั้นนี้จะมีนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเดียวกัน เช่นใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกัน
4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) จะมีการจัดระบบตลาดร่วมที่มีนโยบายเศรษฐกิจเป็นมาตรฐานเดียวกัน ขจัดความเหลื่อมล้ำและเลือกปฏิบัติต่อกันภายในกลุ่ม เช่นกำหนดอัตราดอกเบี้ยเดียวกัน
5. การบูรณาการทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ (Total Economic Integration) ขั้นนี้จะมีการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ทั้งด้านการเงิน การคลัง มีการจัดตั้งองค์กรที่มีลักษณะเหนือรัฐ หรือ Supra-National
Bela Balassa กล่าวว่าขั้นตอนของการบูรณาการจะเป็นเหมือนกับบันได 5 ขั้นคือ
1.เขตเศรษฐกิจเสรี (Free Trade Area) ขั้นแรกนี้จะมีการยกเลิกกำแพงภาษี ยกเลิกระบบโควต้า และการกำหนดปริมาณสินค้า
2.สหภาพศุลกากร (Customs Union) ขั้นนี้จะมีการ ขจัดการเลือกปฏิบัติระหว่างสมาชิก นั่นคือภายในกลุ่มจะไม่มีการเก็บภาษี เคลื่อนย้ายสินค้าบริการภายในกลุ่มอย่างสะดวก ขจัดข้ออุปสรรต่างๆภายในกลุ่ม แต่ไปตั้งการกีดกัดกับภายนอกกลุ่ม
3.ตลาดร่วม (Common Markets) ขั้นนี้จะมีนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเดียวกัน เช่นใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกัน
4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) จะมีการจัดระบบตลาดร่วมที่มีนโยบายเศรษฐกิจเป็นมาตรฐานเดียวกัน ขจัดความเหลื่อมล้ำและเลือกปฏิบัติต่อกันภายในกลุ่ม เช่นกำหนดอัตราดอกเบี้ยเดียวกัน
5. การบูรณาการทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ (Total Economic Integration) ขั้นนี้จะมีการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ทั้งด้านการเงิน การคลัง มีการจัดตั้งองค์กรที่มีลักษณะเหนือรัฐ หรือ Supra-National
ทฤษฎีการรวมกลุ่ม
1. แนวสหพันธ์นิยม (federalism) เป็นแนวการศึกษาลักษณะการรวมตัวกันของหน่วยต่าง ๆ จนกลายเป็นประชาคมทางการเมือง
2. แนวปริวรรตนิยม (Transactionalism) เป็นแนวคิดที่มีการแลกเปลี่ยนการกระทำร่วมกันจนอาจจะเกิด 2 รูปแบบคือ
- แบบที่เป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบ มีความมั่นคง มีหลักประกันร่วมกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- แบบพหุนิยม หมายถึง การจะทำให้เกิดความร่วมมือกันโดยยอมรับความหลากหลาย
3. แนวภารกิจนิยม (Functionalism) ซึ่งพัฒนามาเป็นแบบภารกิจนิยมใหม่ (Neo-Function) นั่นก็คือจากการทำหน้าที่ที่สำคัญจะนำไปสู่การร่วมมือกันในหน้าที่อื่นต่อไปและขยายไปถึงความร่วมมือในลักษณะที่อยู่เหนือกว่ารัฐขึ้นไป
สำหรับสหภาพยุโรปมีแนวทางที่พัฒนาไปในลักษณะเหนือชาติหรือ Supra-
Nation ในอนาคต โดยเฉพาะการที่แต่ละรัฐใช้เงินตราสกุลเดียวกัน แต่ละรัฐชาติจะไม่มีอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจของตนเองอีกต่อไป
ดังนั้น การบูรณาการก็คือการรวมตัวกันในระดับที่สูงกว่ารัฐขึ้นไป เป็นการเปลี่ยนความจงรักภักดีเปลี่ยนการกระทำไปสู่ศูนย์อำนาจใหม่ โดยสถาบันใหม่จะมีอำนาจเหนือกว่าชาติรัฐ และอาจจะมีอำนาจทางการเมืองเหนือรัฐชาติอีกด้วย การบูรณาการจึงเกิดจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Interdependence) ซึ่งการพึ่งพานำไปสู่ความร่วมมือ (Co Operation) จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็จะ Spill Over ไปยังความร่วมมือด้านอื่นจนเกิดการเป็นการบูรณาการ (Integration) ซึ่งมีลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การรวมตัวไม่ว่าจะเป็นแบบใดจะต้องมีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจก่อน เพราะการบูรณาการจะเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดถ้าเริ่มต้นจากเศรษฐกิจ ซึ่งนักทฤษฎีบูรณาการจะเชื่อร่วมกันว่าการบูรณาการจะต้องเริ่มจากการกระทำที่ทำให้มีความขัดแย้งน้อยก็คือการร่วมมือทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้การรวมตัวกันได้จะต้องมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ประเทศต่างๆ จะต้องอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน มีการติดต่อสื่อสารคมนาคมอย่างสม่ำเสมอ และมีความคล้ายคลึงกันทางด้านวัฒนธรรม ภาษา และอื่น ๆ และความร่วมมือนั้นจะต้องเกิดขึ้นในลักษณะที่เต็มไปด้วยสันติภาพที่ยาวนานจนกระทั่งเกิดเป็นชุมชนที่จะต้องร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน แลกเปลี่ยนที่เท่าเทียมกัน มีความเสมอภาพ มีการจัดสรรทรัพยากร หน้าที่ และมีการยอมรับสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน ก็จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน
2. แนวปริวรรตนิยม (Transactionalism) เป็นแนวคิดที่มีการแลกเปลี่ยนการกระทำร่วมกันจนอาจจะเกิด 2 รูปแบบคือ
- แบบที่เป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบ มีความมั่นคง มีหลักประกันร่วมกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- แบบพหุนิยม หมายถึง การจะทำให้เกิดความร่วมมือกันโดยยอมรับความหลากหลาย
3. แนวภารกิจนิยม (Functionalism) ซึ่งพัฒนามาเป็นแบบภารกิจนิยมใหม่ (Neo-Function) นั่นก็คือจากการทำหน้าที่ที่สำคัญจะนำไปสู่การร่วมมือกันในหน้าที่อื่นต่อไปและขยายไปถึงความร่วมมือในลักษณะที่อยู่เหนือกว่ารัฐขึ้นไป
สำหรับสหภาพยุโรปมีแนวทางที่พัฒนาไปในลักษณะเหนือชาติหรือ Supra-
Nation ในอนาคต โดยเฉพาะการที่แต่ละรัฐใช้เงินตราสกุลเดียวกัน แต่ละรัฐชาติจะไม่มีอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจของตนเองอีกต่อไป
ดังนั้น การบูรณาการก็คือการรวมตัวกันในระดับที่สูงกว่ารัฐขึ้นไป เป็นการเปลี่ยนความจงรักภักดีเปลี่ยนการกระทำไปสู่ศูนย์อำนาจใหม่ โดยสถาบันใหม่จะมีอำนาจเหนือกว่าชาติรัฐ และอาจจะมีอำนาจทางการเมืองเหนือรัฐชาติอีกด้วย การบูรณาการจึงเกิดจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Interdependence) ซึ่งการพึ่งพานำไปสู่ความร่วมมือ (Co Operation) จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็จะ Spill Over ไปยังความร่วมมือด้านอื่นจนเกิดการเป็นการบูรณาการ (Integration) ซึ่งมีลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การรวมตัวไม่ว่าจะเป็นแบบใดจะต้องมีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจก่อน เพราะการบูรณาการจะเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดถ้าเริ่มต้นจากเศรษฐกิจ ซึ่งนักทฤษฎีบูรณาการจะเชื่อร่วมกันว่าการบูรณาการจะต้องเริ่มจากการกระทำที่ทำให้มีความขัดแย้งน้อยก็คือการร่วมมือทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้การรวมตัวกันได้จะต้องมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ประเทศต่างๆ จะต้องอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน มีการติดต่อสื่อสารคมนาคมอย่างสม่ำเสมอ และมีความคล้ายคลึงกันทางด้านวัฒนธรรม ภาษา และอื่น ๆ และความร่วมมือนั้นจะต้องเกิดขึ้นในลักษณะที่เต็มไปด้วยสันติภาพที่ยาวนานจนกระทั่งเกิดเป็นชุมชนที่จะต้องร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน แลกเปลี่ยนที่เท่าเทียมกัน มีความเสมอภาพ มีการจัดสรรทรัพยากร หน้าที่ และมีการยอมรับสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน ก็จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)